งานวิจัย
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลได้รับทุนสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก อาทิเช่น องค์กร JICA จากประเทศญี่ปุ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สภาวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักนโยบายและแผนพลังงานแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) ศูนย์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) บริษัทเอกชนหลายแห่ง และโครงการเงินกู้จากธนาคารโลก ภาควิชาฯ มีเครื่องมือและอุปกรณ์วิจัยมูลค่ามากกว่า 150 ล้านบาท ซึ่งจัดว่ามีความสมบูรณ์และทันสมัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยภาควิชาได้จัดตั้งหน่วยวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางขึ้นดังนี้
ศูนย์กลางศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ:Hub of Talents Electromagnetic Energy Utilization in Medical Engineering
ศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการ:Center of Excellence
Center of Excellence in Electromagnetic Energy Utilization in Engineering (CEEE)
หัวหน้าศูนย์ :
ศาสตราจารย์ ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช
สังกัด :
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์มุ่งเน้นวิจัยเชิงสหวิทยาการ (Multi-disciplinary) และบูรณาการที่ครบวงจร กล่าวคือ ในส่วนของงานวิจัยพื้นฐาน (Basic Research) ผ่านกระบวนการทางโมเดลเชิงคณิตศาสตร์ชั้นสูงควบคู่ระเบียบวิธีการคำนวณเชิงตัวเลขชั้นสูงที่ศูนย์ฯพัฒนาขึ้นมาเอง ซึ่งได้มุ่งเป้าในเชิงวิชาการ (Academic side) และสร้างผลงานคุณภาพบ่งบอกถึงการค้นหาองค์ความรู้ใหม่ที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่มี Impact Factor และ H-Index สูง ในส่วนของงานวิจัยประยุกต์ (Applied Research) ได้ต่อยอดองค์ความรู้จากงานวิจัยพื้นฐาน เพื่อมุ่งเป้าพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยในชั้นนี้ผลสรุปงานวิจัยจะออกมาในรูปออก Experimental Data และงานวิจัยอุตสาหกรรม (Industry Research) โดยเป็นการนำองค์ความรู้มาต่อยอดเป็นรูปแบบกระบวนการที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาต่อเนื่องให้อยู่ในรูป Pilot Scale และ Commercial Scale ซึ่งเป็นภาคส่วนสุดท้ายของงานวิจัยที่ครบวงจร ซึ่งในส่วนนี้ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องต้นแบบทั้งในระดับ Pilot scale และ Commercial scale ที่สามารถจดสิทธิบัตรได้และสามารถนำไปใช้งานได้จริง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางของนักวิจัย ทางด้านไมโครเวฟในงานอุตสาหกรรมและงานวิศวกรรมทางการแพทย์ภายในประเทศ และเป็นศูนย์วิจัยที่มีศักยภาพในการวิจัย
Center of Excellence in Creative Engineering Design and Development (CED2)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ
ศูนย์วัตถุประสงค์หลักในการมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหลักของประเทศผ่านการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ (Creative Engineering Design & Development, CED2) ในรูปแบบของการบูรณาการองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชา โดยเน้นการสร้างนวัตกรรมทางด้านสุขภาพเพื่อคนที่ด้อยโอกาสในประเทศไทย และเพื่อพัฒนานวัตกรรมให้สามารถนำไปสู่การใช้งานจริง เพื่อสร้างมูลค่าทั้งในรูปแบบเชิงพานิชและสร้างประโยชน์สุขเชิงสาธารณะ โดยในช่วงแรกจะเน้นการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมทางด้านสุขภาพ สำหรับผู้ป่วย คนพิการและผู้สูงอายุ และเพิ่มช่องทางเพื่อนำผลงานนวัตกรรมไปสู่เชิงพานิชเพื่อนำรายได้กลับมาเป็นทุนวิจัยทำให้เกิดวงจรงานวิจัยที่ยั่งยืน
Thammasat University Center of Excellence in Computational Mechanics and Medical Engineering (CME2)
รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ ลิ่มตระการ
พันธกิจของศูนย์
มุ่งมั่นพัฒนาองค์ความรู้ด้านการคำนวณขั้นสูงของกลศาสตร์และวิศวกรรมทางการแพทย์ของศูนย์ฯ ให้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีนวัตกรรมที่ดีและใช้งานได้จริง มีมาตรฐานสากล และแข่งขันกับต่างประเทศได้
วัตถุประสงค์ของศูนย์
พัฒนาองค์ความรู้ด้านกลศาสตร์และวิศวกรรมทางการแพทย์ด้วยการคำนวณ ทั้งในด้านวิชาการและนวัตกรรมให้ไปสู่ความเป็นเลิศในระดับสากลและยั่งยืน
หน่วยวิจัย
ศ. ดร. ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช
ผศ. ดร. บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ
ศ. ดร. ชาวสวน กาญจโนมัย
รศ. ดร. ไชยณรงค์ จักรธรานนท์
รศ. ดร. วิโรจน์ ลิ่มตระการ
รศ. ดร. ธีร เจียศิริพงษ์กุล
รศ. ดร. อิศเรศ ธุชกัลยา
ผศ. ดร. กริช เจียมจิโรจน์
ผศ. ดร. ลลิต์ภัทร มานะมั่นชัยพร
ผศ. ดร. ปรัชญา เปรมปราณีรัชต์
ผศ. ดร. ณัฐดนย์ พรรณเจริญวงษ์